6 นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่ฝีมือประจักษ์จนได้ไปเล่นในลีกต่างแดน

6 นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่ฝีมือประจักษ์จนได้ไปเล่นในลีกต่างแดน

ในฤดูกาล 2021-2022 มีนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยออกไปเล่นลีกต่างประเทศถึง 6 คนด้วยกัน ได้แก่ลีกในประเทศตุรกีและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลีกระดับแถวหน้า แน่นอนว่านักตบสาวไทยเหล่านี้จะได้รับประสบการณ์อันล้ำค่าจากนักกีฬาระดับโลก รวมถึงมาตรฐานจากลีกนั้นๆ ที่จะส่งผลดีต่อทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย โดยทั้ง 6 สาวมีรายนามและผลงานเด่นๆ ดังนี้

  1.  “บุ๋มบิ๋ม” ชัชชุอร โมกศรี

1 “บุ๋มบิ๋ม” ชัชชุอร โมกศรี

บุ๋มบิ๋ม เป็นนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในตำแหน่งหัวเสาที่ได้ไปเล่นลีกอาชีพต่างประเทศกับ ซาริเยร์ เบเลดิเยสปอร์ ทีมในเตอร์กิช วอลเลย์บอล ลีก ประเทศตุรกี โดยเจ้าตัวได้รับการติดต่อในช่วงที่กำลังแข่งขันสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2021 ที่จังหวัดนครราชสีมา หลังผู้เล่นในตำแหน่งหัวเสาชาวสหรัฐอเมริกาของซาริเยร์บาดเจ็บ แต่ว่าก่อนหน้านั้นเจ้าตัวยังได้รับการติดต่อจากทีมในศึกวีลีกญี่ปุ่นอีกด้วย

  1.  “แนน” ทัดดาว นึกแจ้ง

2 “แนน” ทัดดาว นึกแจ้ง

แนน ก้าวขึ้นมาเป็นกำลังหลักให้วงการวอลเลย์บอลหญิงไทยเกือบ 10 ปี ในตำแหน่งบอลเร็ว แม้ว่าช่วงปี 2015-2017 เจออาการบาดเจ็บเล่นงานแต่สุดท้ายก็ฟื้นตัวกลับมาช่วยทีมชาติไทยคว้าเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2018 ก่อนจะได้ไปลุยศึกวีลีก ญี่ปุ่น กับ เจที มาร์เวลลัส เมื่อฤดูกาล 2020-2021 มีส่วนช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ลีกได้อีกด้วย และในฤดูกาล 2021-2022 เจที ยังมอบโอกาสให้ทัดดาวอีกครั้ง ซึ่งเธอตั้งเป้าพาทีมคว้าแชมป์วีลีกเป็นสมัยที่ 3

  1.  “เดียร์” จรัสพร บรรดาศักดิ์

3 “เตย” หัตถยา บำรุงสุข

เดียร์ ผ่านการเล่นกับทีมชั้นนำของไทยมาแล้วทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น นครราชสีมา, บางกอกกล๊าส วีซี และ ไดมอนด์ฟู้ด วีซี แถมยังคว้าแชมป์ไทยแลนด์ลีก ได้กับทุกสโมสรที่ลงเล่น โดยฤดูกาลนี้ย้ายไปเล่นให้ เดนโซ แอร์ริบีส์ นับว่าตำแหน่งบอลเร็วที่ เดียร์ เล่นยังเป็นตำแหน่งที่ทางสโมสรญี่ปุ่นต้องการเป็นอย่างมาก

  1.  “เตย” หัตถยา บำรุงสุข

4 “เตย” หัตถยา บำรุงสุข

เตย เป็นอีกหนึ่งนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในตำแหน่งบอลเร็วที่ผ่านการทดสอบสภาพจิตใจมา หลังถูกอาการบาดเจ็บเล่นงานพักยาวไปถึง 2 ปี ก่อนจะกลับมาลงเล่นเมื่อฤดูกาลก่อนพร้อมกับคว้าแชมป์ไทยแลนด์ลีก กับ ไดมอนด์ฟู้ด วีซี ก่อนที่ฤดูกาล 2021-2022 จะโยกไปเล่นลีกญี่ปุ่นกับ โตโยต้า ออโต บอดี้ ควินซีส์ ถือว่าสมหวังสักทีเนื่องจากก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2018 เคยได้รับการติดต่อจาก เจที มาร์เวลลัส แต่เจออาการบาดเจ็บเล่นงานเสียก่อน

  1. “บีม” พิมพิชยา ก๊กรัมย์

5 “บีม” พิมพิชยา ก๊กรัมย์

บีม เป็นนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในตำแหน่งบีหลังที่ถูกแฟนวอลเลย์บอลไทยยกให้เป็นผู้ที่จะก้าวขึ้นมาสานต่อตำนานบีหลังไทยอย่าง “ปู” มลิกา กันทอง อีกทั้งถือเป็นตัวหลักของสโมสร 3BB นครนนท์ สำหรับฤดูกาล 2021-2022 บีม ย้ายไปเล่นในศึกวีลีก ญี่ปุ่น กับ คุโรเบะ อควาแฟรีส์ และถือเป็นความท้าทายเมื่อเจ้าตัวจะถูกจับไปเล่นตำแหน่งหัวเสา ซึ่ง บีม เคยผ่านประสบการณ์การเล่นในลีกต่างประเทศมาแล้ว 1 ครั้ง กับทีม บันดุง แบงก์ บีเจบี ในการแข่งขันอินโดนีเซีย โปร ลีกา เมื่อฤดูกาล 2018-19 ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ที่ได้ย้ายไปเล่นในลีกอาชีพที่ประเทศญี่ปุ่น

  1.  “เพียว” อัจฉราพร คงยศ

6 “เพียว” อัจฉราพร คงยศ

เพียว นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในตำแหน่งหัวเสา ได้ย้ายไปเล่นให้กับทีมซาริเยร์ เบเลดิเยสปอร์ ทีมในเตอร์กิช วอลเลย์บอล ลีก ประเทศตุรกี และจะลงเล่นในตำแหน่งบีหลัง ก่อนหน้านั้น เพียว เคยออกไปเล่นลีกต่างประเทศหนึ่งครั้งกับทีม บีเอ็นไอ 48 สโมสรวอลเลย์บอลของลีกประเทศอินโดนีเซีย เมื่อฤดูกาล 2018-2019 และครั้งนี้ถือว่าเป็นการย้ายทีมไปเล่นลีกยุโรปครั้งแรกของเจ้าตัวอีกด้วย

จาก Mintonette เป็น Volleyball เกร็ดประวัติของชื่อที่ใช้เรียกกีฬาตบลูกยางนี้

Mintonette Volleyball

กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น โดยใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) โดยศาสตราจารย์อัลเฟรดให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 1928 (พ.ศ.2471) ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล และในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล ทั้งนี้ กีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมือง เฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรก ที่เมือง สโคร์ ตามลำดับ

Reference

  1. vallelathesax.blogspot.com/2011/11/blog-post_9794.html
  2. sites.google.com/site/ornnapathojura/prawati-khwam-pen-ma-kila-wxlleybxl-ni-tang-prathes